โครงการปุ๋ยชีวภาพจากเศษใบไม้

โครงการปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้
_______________________________________________________________
1. ชื่อโครงการ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้
2. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนมีใบไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการทับถมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการทับถมของใบไม้บางคนอาจมองในแง่ดีว่า ทำให้มีปุ๋ยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่การย่อยสลายในรูปแบบนี้ต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร จึงเกิดแง่คิดอีกรูปแบบหนึ่งว่า ควรกำจัดใบไม้เหล่านั้นทิ้งไป โดยบางคนอาจเลือกวิธีเผาใบไม้ทิ้ง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบถึงภาวะโลกร้อนที่กำลังทำความเดือดร้อนทั่วทุกมุมโลก ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศของโลก
ดังนั้นจึงคิดหาวิธีช่วยโลกในรูปแบบของปุ๋ยชีวภาพ เพื่อที่จะนำไปบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม ทำให้ต้นไม้เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นต้นไม้ที่ช่วยในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
3. วัตถุประสงค์
3.1. เพื่อเรียนรู้และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
3.2. เพื่อผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำไปใช้ในโรงเรียนและบ้านของนักเรียน
4. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา) อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
5. เป้าหมาย
4.1. นักเรียนสามารถทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ทุกคน
4.2. นักเรียนใช้ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ภายในบ้านทุกคน
6. ตารางตามแผนการดำเนินงาน
งาน วิธีและสถานที่ เวลา หมายเหตุ
1.ศึกษาข้อมูลการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ศึกษาจาก Internet และสอบถามจากผู้รู้ 1 สัปดาห์(ม.ค.61)
2.เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60 ลิตร หาวัสดุและอุปกรณ์จากที่มีอยู่ในท้องถิ่น 1 สัปดาห์
เดือน ก.พ.61
3.ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ นำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันตามสัดส่วนแล้วหมักในถังที่เตรียมไว้แล้วหมักตามระยะเวลาที่กำหนด 3 เดือน
พ.ค.- ก.ค.61 ทำการหมักส่วนผสม 1 วันแต่เวลาเวลาหมัก 3 เดือน
4.ติดตามดูความก้าวหน้าของปุ๋ยหมักชีวภาพในวันที่ 7 หลังจากการหมัก เปิดดูความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นไปที่ข้อมูลบอกไว้หรือไม่ 1 วัน หากไม่เป็นไปตามที่ข้อมูลบอกไว้ให้แก้ตามนั้น
5.บรรจุปุ๋ยหมัก บรรจุปุ๋ยหมักชีวภาพในขวดหรือภาชนะที่เตรียมไว้ 1 วัน (ส.ค.61)

วิธีการกองปุ๋ยหมัก และขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก
การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน มีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกองมี 2 วิธี ขึ้นกับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้น ๆ ประมาณ 3-4 ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4 ส่วน ตามจำนวนชั้นที่จะกอง มีวิธีการกองดังนี้
1. ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์ และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
2. การกองชั้นแรกให้นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ชุ่ม
3. นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืช ตามด้วยปุ๋ยไนโตรเจน แล้วราดสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ให้ทั่ว โดยแบ่งใส่เป็นชั้น ๆ
4. หลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ย ควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ใช้ระยะเวลาในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพทั้งสิ้น 3 เดือน

8. งบประมาณ
ใช้งบประมาณในการดำเนินงานทั้งสิ้น 10,000 บาท
– ถัง 200 ลิตรจำนวน 10 ถัง 8,000 บาท
– ปุ๋ยยูเรียมูลสัตว์ 2,000 บาท
9. ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
นายภาวัต กันตศรี นางสิราลักษณ์ ตูวิเชียร
10. หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การสนับข้อมูลและหัวเชื้อปุ๋ยหมักชีวภาพ
11. การประเมินผล
1. ประเมินจากทำปุ๋ยหมักชีวภาพของนักเรียน
2. แบบสอบถาม และแบบทดสอบวัดผลของนักเรียน
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้ความรู้และได้เรียนรู้และศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
2. นักเรียนได้ทราบแนวทางในการแนะนำเกษตรกรให้หันมาใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติ

(ลงชื่อ)……………………………………….ผู้เสนอกิจกรรม
(นายภาวัต กันตศรี)
ครู โรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา)

(ลงชื่อ)……………………………………ผู้เห็นชอบกิจกรรม
(นายมาโนตย์ โกมลกิติศักดิ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา)

ใส่ความเห็น